น้ำมันกัญชา (หมอเดชา)
ที่มาของตำรับยา
น้ำมันกัญชาจากตำรับยาหมอพื้นบ้านที่ได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการรับรองตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสม
กรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
สูตรตำรับยา ประกอบด้วย ตัวยา 2
ชนิด ดังนี้
ลำดับ |
ตัวยา |
น้ำหนักยา |
1 |
กัญชา |
100 กรัม |
2 |
น้ำมันมะพร้าว |
1000
มิลลิลิตร |
กรรมวิธีการผลิต
1.
ล้างช่อดอกกัญชาด้วยน้ำ อบให้แห้ง แล้วนำไปบด
2.
ผสมตัวยาในข้อ 1 กับน้ำมันมะพร้าวในภาชนะปิด (ตัวยา 100 กรัมต่อน้ำมันมะพร้าว
1,000 มิลลิลิตร) จากนั้นแช่ภาชนะในน้ำที่ทำให้เดือดด้วยไฟอ่อน เป็นเวลา 1-3
ชั่วโมง แล้วทิ้งไว้ให้เย็น
3.
นำมากรองเอาแต่น้ำมัน เก็บไว้ในขวดทึบแสง สำหรับบรรจุลงในขวดสำหรับหยด ต่อไป
สรรพคุณของน้ำมันกัญชา
ช่วยให้นอนหลับ
ขนาดยาเริ่มต้น :
รับประทานครั้งละ
3-5 หยด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน หรือ
ตามดุลพินิจของแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
การปรับขนาดยา :
-
หากอาการไม่ดีขึ้นจาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยา เพิ่มขึ้นครั้งละ 1-2
หยด ทุก 1-2 สัปดาห์ ** ขนาดสูงสุดไม่เกิน 20 หยด ต่อวัน
-
หากอาการดีขึ้นจากการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยาลดลง ครั้งละ 1 หยด ทุก
1 สัปดาห์
ช่วยให้เจริญอาหาร
ขนาดยาเริ่มต้น :
รับประทานครั้งละ
1-3 หยด วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือ
ตามดุลพินิจของแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
การปรับขนาดยา :
-
หากอาการไม่ดีขึ้นจากการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยา เพิ่มขึ้นครั้งละ
1-2 หยด ทุก 1-2 สัปดาห์ ** ขนาดสูงสุดไม่เกิน
15 หยด ต่อวัน
-
หากอาการดีขึ้นจาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยาลดลง ครั้งละ 1 หยด ทุก 1
สัปดาห์
แก้ลมปะกัง
ขนาดยาเริ่มต้น:
รับประทานครั้งละ
3-5 หยด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอนหรือหยดเมื่อมีอาการครั้งละ 3-5 หยด
-
หากอาการไม่ดีขึ้นภายในครึ่งชั่วโมงให้ปรับขนาดยาตามรายละเอียดการปรับขนาดยา
หรือ ตามดุลพินิจของ แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
การปรับขนาดยา :
-
หากอาการไม่ดีขึ้นจาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยา เพิ่มขึ้นครั้งละ 1-2
หยด ทุก 1-2 สัปดาห์ ** ขนาดสูงสุดไม่เกิน 20 หยด ต่อวัน
-
หากอาการดีขึ้นจากการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยาลดลง ครั้งละ 1 หยด ทุก
1 สัปดาห์
ช่วยให้เจริญอาหาร
ขนาดยาเริ่มต้น :
รับประทานครั้งละ
1-3 หยด วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือ
ตามดุลพินิจของแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
การปรับขนาดยา :
-
หากอาการไม่ดีขึ้นจากการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยา เพิ่มขึ้นครั้งละ
1-2 หยด ทุก 1-2 สัปดาห์ ** ขนาดสูงสุดไม่เกิน
15 หยด ต่อวัน
-
หากอาการดีขึ้นจาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยาลดลง ครั้งละ 1 หยด ทุก 1
สัปดาห์
แก้ลมปะกัง
ขนาดยาเริ่มต้น:
รับประทานครั้งละ
3-5 หยด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอนหรือหยดเมื่อมีอาการครั้งละ 3-5 หยด
-
หากอาการไม่ดีขึ้นภายในครึ่งชั่วโมงให้ปรับขนาดยาตามรายละเอียดการปรับขนาดยา
หรือ ตามดุลพินิจของ แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
- หากอาการไม่ดีขึ้นจากการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยา เพิ่มขึ้น ครั้งละ 1-2 หยด ทุก 1-2 สัปดาห์ ** ขนาดสูงสุดไม่เกิน 20 หยด ต่อวัน
-
หากอาการดีขึ้นจาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยาลดลง ครั้งละ
1 หยด ทุก 1 สัปดาห์
รับประทานครั้งละ 3-5 หยด วันละ 2-4 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ หรือตามดุลพินิจของแพทย์
แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
การปรับขนาดยา
:
-
หากอาการไม่ดีขึ้นจาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยา เพิ่มขึ้น ครั้งละ
1-2 หยด ทุกครึ่งชั่วโมง ** ขนาดสูงสุดไม่เกิน 30 หยด ต่อวัน
-
หากอาการดีขึ้นจาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยาลดลง ครั้งละ
1 หยด ทุก 1 สัปดาห์
แก้โรคสันนิบาตลูกนก (พาร์กินสัน)
ขนาดยาเริ่มต้น
:
รับประทานครั งละ 3-5 หยด วันละ 2-4 ครั้งต่อวัน หรือ ตามดุลพินิจของแพทย์แผนไทยและ แพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สั่งใช้ยาน้ำมันกัญชา
การปรับขนาดยา
:
-
หากอาการไม่ดีขึ้นจาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยา เพิ่มขึ้นครั้งละ1-2 หยด ทุก 1-2 สัปดาห์ ** ขนาดสูงสุดไม่เกิน
20 หยด ต่อวัน
-
หากอาการดีขึ้นจาการติดตามอาการและประเมินผลให้ปรับขนาดยาลดลง ครั้งละ
1 หยด ทุก 1 สัปดาห์
คำแนะนำเพิ่มเติม
-
วิธีการหยดน้ามันกัญชา ให้หยดใส่ช้อนก่อนรับประทาน เพื่อป้องกันการใช้ยาเกินขนาด
-
มีการติดตามอาการของผู้ป่วยทุก 7 วัน (ทางโทรศัพท์หรือนัดติดตามอาการ)
-
หากมีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่น ปากบวม ตาบวม หน้าบวม ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
-
ควรเก็บยาให้พ้นมือเด็ก
-
อาจพบอาการไม่พึงประสงค์จากใช้น้ำมันกัญชาได้ อย่างเช่น อาการมึนเวียนศีรษะ
กระสับกระส่าย สับสน ปากแห้งคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน เคลิ้มสุข ตาเบลอ เดินเซ ปวดศีรษะ
ใจสั่น แน่นหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ/สูง รู้สึกวิตกกังวลหรือซึมเศร้า
1.
ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา ซึ่งอาจเกิดจากส่วนประกอบอื่นๆ
(ในผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว)
2.
ห้ามใช้กัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ THC
(delta-9-tetrahydrocannabinol) ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดขั้นรุนแรง
หรือไม่สามารถคุมอาการได้ เช่น ยังมีอาการกำเริบบ่อยๆ ของการปวดเค้นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ
ความดันตก เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจขาดเลือด รวมถึงห้ามใช้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
3.
ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด
หรือสตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์ เนื่องจากมีรายงานการศึกษาพบว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย
รวมถึงพบสารจากกัญชาผ่านในน้ำนมแม่ได้
1.
ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักรกล
หรือทำงานที่เสี่ยงอันตราย
2.
ไม่ควรใช้กัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ THC เด่น
ในบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ยกเว้นในกรณีที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยได้รับประโยชน์มากกว่าเสี่ยง
(ผลิตภัณฑ์นี้ไม่มีส่วนประกอบของ THC)
3.
ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะอาจเกิดการติดยาได้ นอกจากแพทย์สั่ง
หากใช้เป็นประจำควรประเมินผลการรักษาเป็นระยะ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดใช้ยา เพราะจำเป็นต้องปรับลดขนาดยาลงทีละน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการถอนยา
4.
ควรใช้กัญชาด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาร่วมกับยากล่อมประสาทหรือ
ยาที่ออกฤทธิ์ทางจิตอื่น ๆ เนื่องจากเสริมฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางหรือเพิ่มผลกระทบทางจิตประสาท
5.
ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติของการใช้สารเสพติดรวมถึงผู้มีประวัติติดสุรา
![]() |
เอกสารอ้างอิง
1.
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
คู่มือตรวจโรค แพทย์แผนไทยประยุกต์. นนทบุรี
: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ้ากัด, 2559.
2.
Romano LL, Hazekamp A: Cannabis oil: chemical evaluation of an upcoming
cannabis-based medicine. Cannabinoids 2013; 1: 1–11
3.
MacCallum CA, Russo EB. Practical considerations in medical cannabis
administration and dosing. Eur J Intern Med 2018;49: 12-19.
4.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท
5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้
(ฉบับที่ 2)พ.ศ.
2562 ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2562. คัดจากราชกิจจานุเบกษา ฉบับ ประกาศและงานทั่ว ไป เล่ม 136 ตอนพิเศษ199 วันที่ 6 สิงหาคม
2562.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น